Ayutthaya Cruise

ล่องเรือทานอาหารอยุธยา

ล่องเรือทานอาหารอยุธยา

ล่องเรือทานอาหารอยุธยา สัมผัสบรรยากาศสองฝั่งแม่น้ำพร้อมชมความสวยงามของวัดและโบราณสถาน ของอยุธยา ร้องเพลงคาราโอเกะ ฟังเพลงเพลินๆบนเรือ ล่องเรือทานอยุธยา อีกหนึ่งกิจกรรม เหมาะสำหรับลูกค้าและคนในครอบครัว 

ล่องเรือทานอาหารอยุธยา
ล่องเรือทานอาหารอยุธยา
ล่องเรือทานอาหารอยุธยา
ล่องเรือทานอาหาร Ayutthaya Cruise

ล่องเรือทานอาหารอยุธยา ผ่านสถานที่ไหนบ้าง

ทำไมต้อง ล่องเรือทานอาหารที่อยุธยา เพราะจังหวัดอยุธยาถูกล้อมรอบด้วยแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งในอดีตใช้เป็นเส้นทางสัญจรทางการค้า แต่ปัจจุบันนั้นการ ล่องเรือท่องเที่ยวอยุธยา เยี่ยมชมบรรยากาศไม่ว่าจะกลางวันหรือกลางคืนกลายเป็นสิ่งที่สร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก โดย การ ล่องเรือ นั้นจะผ่านสถานที่สำคัญๆของจ.อยุธยา หลายที่ ไม่ว่าจะเป็น วัดพนัญเชิงวรวิหาร วัดพุทไธสวรรย์ วัดกษัตราธิราชวรวิหาร ป้อมเพชรอยุธยา พระตำหนักสิริยาลัย โบสถ์คริสต์ อยุธยา เป็นต้น โดยปกติ จะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ในการ ล่องเรือทานอาหาร และช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด แนะนำ ช่วงเวลาประมาณ 16:00 น. เป็นเวลาที่ พระอาทิตย์กำลังจะตกดิน อากาศเย็นสบาย บรรยากาศ ดี เหมาะสมที่สุด หรือลูกค้าสะดวกช่วงเวลาไหน ก็สามารถแจ้งกับทางเราได้เรายินดีบริการทุกช่วงเวลา

ลูกค้าที่มาใช้บริการ ล่องเรือทานอาหาร

ล่องเรือทานอาหารอยุธยา แบบส่วนตัวพร้อมอาหารแบบเซ็ตโต๊ะ ลูกค้าสามารถเลือกเดินทางท่องเที่ยวได้ตั้งแต่ 2 ท่านขึ้นไป ชมบรรยากาศสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ร้องเพลงบนเรือ ฟังเพลงเพลินๆบนเรือ ลูกค้าที่สนใจมาใช้บริการกับเรา ลูกค้าสามารถติดต่อกับเราได้ทั้งทาง โทรศัพท์ และ สามารถ แอดไลน์ พูดคุยกับทางเราได้เลย เรามีเจ้าหน้าที่คอยบริการให้ข้อมูลกับลูกค้าเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ

รูปแบบบริการของเรา

แบบที่ 1

จำนวนผู้รับบริการ 50-70 ท่าน ชำระ 499 บาท / ท่าน เลือกอาหารอร่อยๆได้ จำนวน 8 อย่าง / โต๊ะ

แบบที่ 2

จำนวนผู้รับบริการ 16-50 ท่าน ชำระ 599 บาท / ท่าน เลือกอาหารอร่อยๆได้ จำนวน 8 อย่าง / โต๊ะ

แบบที่ 3

จำนวนผู้รับบริการ 1-8 ท่าน ชำระแบบเหมาจ่าย 4,900 บาท เลือกอาหารอร่อยๆได้ จำนวน 8 อย่าง / โต๊ะ

เมนูอาหารพร้อมบริการให้กับลูกค้า

เมนูอาหารของเรา มีเมนูอาหารเตรียมพร้อมเสริฟให้กับลูกค้าหลายอย่าง ทั้งต้ม แกง ผัด ทอด เรามีเมนูมากมาย เพื่อให้ลูกค้าได้มีความสุขกับการ ล่องเรือ และไดัทานอาหารที่อร่อยๆ เตรียมไว้รอต้อนรับลูกค้า ตัวอย่างอาหารของเรา ลูกค้าสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้เพื่อแจ้งเมนูอาหารที่ลูกค้าต้องการ

 

ล่องเรืออยุธยา

ล่องเรืออยุธยา
ล่องเรืออยุธยา

ล่องเรืออยุธยาเป็นกิจกรรมท่องเที่ยวทางน้ำที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากนักท่องเที่ยวที่มาเยือนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติก็นิยมล่องเรือกัน ด้วยความที่อยุธยาเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศ ที่มีอายุมากกว่า 700 ปี นักท่องเที่ยวที่มาเยือนอยุธยาไม่ควรพลาดกิจกรรมนี้ เนื่องจากจะได้รับประสบการณ์ในการเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของไทยในอดีต แล้ว ยังได้สัมผัสกับวิถีชีวิตของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริ่มสองฝั่งแม่น้ำด้วยเมื่อได้รู้แล้วว่าการท่องเที่ยว ล่องเรืออยุธยา เป็นที่นิยมของชาวไทยและชาวต่างชาติแล้ว เราจะขอแนะนำสถานที่ที่นักท่องเที่ยวสายบุญไม่ควรพลาด ด้วยการแนะนำวัดที่นักท่องเที่ยวนิยมล่องเรือไปไหว้พระ โดยมีบางส่วนดังนี้

วัดพนัญเชิงวรวิหาร : ให้นักท่องเที่ยวได้กราบไหว้หลวงพ่อโต หรือ เจ้าพ่อซำปอกง อันเป็นที่น่าเคารพนับถือ นอกจากนั้นภายในวัดยังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกมากมาย เช่น พระพุธรูปทองคำ และตำหนักเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก

วัดไชยวัฒนาราม : วัดแห่งนี้คือที่ฝังพระศพของเจ้าฟ้ากุ้ง กวีเอกสมัยอยุธยาตอนปลาย และเจ้าฟ้าสังวาลที่ถูกโบยจนสิ้นพระชนม์ สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ พระปรางค์ศรีรัตนมหาธาตุ พระระเบียงที่ภายในมีพระพุทธรูปปั้นปางมารวิชัยเก่าแก่ เต็มไปด้วยมนต์ขลังและความสวยงาม ซึ่งหาชมได้ยาก

วัดพุทไธศวรรย์ : วัดนี้ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งตะวันตก วัดที่มีความเก่าแก่ รอดจากการถูกเผาทำลายเมื่อครั้งเสียกรุงในปี พ.ศ 2310 ภายในวัดมีองค์ปรางค์ประธานประดิษฐานองค์เจดีย์เล็กๆ และมีรอยพระพุทธบาทให้กราบไหว้สักการะ นอกจากนั้นยังมีพระตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษจารย์ รวมถึงวิหารองค์พ่อจตุคามรามเทพด้วย

วัดเชิงท่า : วัดนี้ถือเป็นวัดที่มีความผูกผันกับพระราชประวัติของพระเจ้าตากสิน และยังเป็นวัดแห่งตำนานระหว่างพระเจ้าตากกับรัชกาลที่ 1 ซึ่งทรงพบกันเมื่อครั้งยังผนวช ครั้งแรกเมื่อครั้งเยาว์วัย เจ้าพระยาจักรี พ่อบุญธรรมนำเด็กชายสิน เข้าสำนักการศึกษากับพระอาจารย์ (มหาเถร) ทองดี ทำให้ได้เรียนหนังสือขอมไทย เรียนคัมภีร์พระไตรปิฎก ส่วนครั้งที่สอง หลังจากที่เข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็ก เมื่อมีอายุครบ ๒๑ ปี จึงได้กราบถวายบังคมลาอุปสมบทต่อ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ และจำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้ ต่อมานายทองด้วงได้อุปสมบทที่วัดใกล้กันๆ คือ วัดมหาทลาย ทำให้พระภิกษุทั้ง ๒ รูปได้เจอกันบ่อยครั้ง เช้าวันหนึ่งขณะพระภิกษุทั้ง 2 รูปบิณฑบาตร มีซินแสชาวจีนเดินผ่านมาพบพระภิกษุสิน และ ภิกษุทองด้วง ได้กล่าวว่า ไม่น่าเชื่อเลยที่ได้เห็นกษัตริย์ไทยสององค์มาเดินบิณฑบาตด้วยกันอย่างนี้ ต่อไปในภาคหน้าพระคุณเจ้าทั้งสองจะได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ แต่พระภิกษุทั้งสองรูปรู้สึกขำขันหาได้ใส่ใจไม่

วัดแค : ตามบันทึกความเป็นมาหรือเรื่องราวเล่าขานสืบต่อกันมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เราเริ่มต้นที่วัดแคหรือวัดร่างแค ส่วนทุกวันนี้คือวัดแคราชานุวาส เรื่องราวหลวงปู่ทวดตั้งแต่ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระเอกาทศรถแห่งกรุงศรีอยุธยา ครั้งกระนั้นกล่าวว่าเจ้าสามีราม พระสามีรามหรือหลวงปู่ทวดต้องการจะเดินทางมากรุงศรีอยุธยาจึงได้ขออาศัยเรือสำเภาที่เดินทางมาส่งสินค้าในเกาะกรุงศรีอยุธยา เมื่อพระสามีราม ลงเรือแล้ว เรือก็ออกมาในทะเล ปรากฏว่าเกิดพายุขึ้นมาทันที ทำให้เรือขนสินค้าต้องหยุดพักแต่ข้าวของเสียหาย เมื่อพายุหายสงบนิ่ง เจ้าของเรือสำเภาก็คิดว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น น่าจะเป็นเพราะมีพระสงฆ์รูปนี้แหละที่ขออาศัยมาด้วยแน่นอน ดังนั้นจึงบอกให้ลูกน้องเอาเรือเล็กลงเพื่อไปส่งพระสามีรามบนฝั่ง พระสามีรามก่อนจะกล้าลงเรือใช้เท้าด้านซ้ายเหยียบลง ไปในน้ำทะเล แล้วบอกให้ตักน้ำเก็บไว้เพื่อใช้สำหรับการเดินทาง ปรากฏว่าพอชิมน้ำทะเลเค็ม กลายเป็นน้ำจืดครับ จึงเป็นคำพูดเรียก “หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด”

วัดพิชัยสงคราม : สร้างขึ้นตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2900 เป็นวัดโบราณมีมาแต่สมัยกรุงศรีรอยุธยามีนามปรากฏในราชพงศาวดาร ว่าวัดพิชัยบางแห่งเขียนว่าวัดพิไชย ได้เปลี่ยนนามใหม่ว่าวัดพิชัยสงครามในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ประมาณรัชกาลที่ 4 หรือ 5 หมุดหมายแห่งการกอบกู้เอกราชของสยามประเทศ ผ่านเส้นทางเดินทัพครั้งสำคัญของพระยาวชิรปราการ ซึ่งต่อมาสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เดิมชื่อวัดพิไชยหรือวัดพิชัย สันนิษฐานว่าคงจะสร้างขึ้นสมัยอยุธยา ราว ๆ พ.ศ. 1900 ไม่ปรากฎหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างวัด แต่มีบทบาทสำคัญในช่วงวิกฤตขณะกองทัพพม่ารุกคืบเข้าสู่พระนคร ราว พ.ศ. 2309 พระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชรในเวลานั้น เล็งเห็นว่าพม่าจวนเจียนจะยึดพระนครไว้ได้ ทหารและข้าราชการทั้งหลายต่างขวัญเสีย พระมหากษัตริย์ก็มิได้แข็งแกร่ง เห็นทีกรุงศรีอยุธยาจะเสียทีแก่พม่าเป็นครั้งที่ 2 แน่แล้ว ตรองได้ดังนั้นจึงรวบรวมกำลังพลตีฝ่าวงล้อมทหารพม่าข้ามแม่น้ำป่าสักไปตั้งหลักที่วัดพิชัย และได้มาตั้งพระสัตยาธิษฐานต่อหลวงพ่อใหญ่หรือพระพุทธพิชัยนิมิตร พระประธานในพระอุโบสถเพื่อขอให้เดินทางโดยปลอดภัย กลับมากอบกู้กรุงศรีอยุธยาและมีชัยชนะต่อข้าศึกซึ่งเป็นจริงในภายหลัง จนปราบดาขึ้นเป็นพระเจ้ากรุงธนบุรี คืนเอกราชแก่สยามได้สมดังความมุ่งหมาย ย้อนไปในคราวกรุงศรีอยุธยาแตก วัดพิชัยกลายเป็นวัดร้างเสื่อมโทรมลงไป กระทั่งได้รับการบูรณะราว ๆ สมัยรัชกาลที่ 4 หรือ 5 และได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดพิชัยสงคราม เพื่อเทิดเกียรติเหล่าทหารหาญที่กอบกู้เอกราชได้สำเร็จ นอกจากเรื่องราวด้านประวัติศาสตร์แล้ว วัดพิชัยสงครามยังมีชื่อเสียงมากเรื่องพระดีศรีอยุธยาของหลวงพ่ออุดม พระครูวิชัยกิจจารักษ์ เจ้าอาวาส ผู้ร่ำเรียนวิชาพุทธาคม สายวัดประดู่ทรงธรรม และสายอยุธยาโบราณจนรู้แจ้ง ปลุกเสกวัตถุมงคลศักดิ์ศรีมากมาย เช่น เสื้อยันต์, ไม้ครู, ลูกสะกด และพิรอดแขน โดยเฉพาะตะกรุดถือเป็นวัตถุมงคลชิ้นเอกของหลวงพ่ออุดมที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง จนมีลูกศิษย์ลูกหาไปทั่วทุกสารทิศ เปิดให้เข้านมัสการได้ทุกวัน เวลา 08.00-16.30 น.

วัดกษัตราธิราชวรวิหาร :อยู่นอกเกาะเมืองตรงข้ามกับเจดีย์พระศรีสุริโยทัย ริมแม่น้ำเจ้าพระยา สามารถใช้เส้นทางเดียวกับสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ไปจนถึงสี่แยกแล้วเลี้ยวซ้ายข้ามสะพานวัดกษัตราธิราชฯ

ด้วยชื่อวัดว่า วัดกษัตรา อันหมายถึง วัดของพระมหากษัตริย์หรือวัดของพระเจ้าแผ่นดิน ทำให้สันนิษฐานได้ว่าที่นี่เป็นวัดที่พระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศานุวงศ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาพระองค์ใดพระองค์หนึ่งทรงสร้างเอาไว้ หากไม่ปรากฎนามผู้สร้าง มีเพียงหลักฐานที่จารึกไว้ในพงศาวดารที่กล่าวถึงวัดกษัตราในแผ่นดินสมเด็จพระสุริยามรินทร์ ความว่า แรม 14 ค่ำ เดือน 5 ( พ.ศ. 2303) พม่าเอาปืนใหญ่มาตั้งที่วัดราชพฤกษ์และวัดกษัตราวาส ยิงเข้ามาในพระนครถูกบ้านเรือนราษฎรล้มตายจำนวนมาก วัดเก่าแก่แห่งนี้ถูกเพลิงไหม้วอดวายเมื่อครั้งกรุงแตกครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2310 นับแต่นั้นจึงถูกทิ้งร้าง จนได้รับการบูรณะเรื่อยมาในแผ่นดินราชธานีรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ (ทองอิน) กรมพระราชบวรสถานภิมุข (กรมพระราชวังหลัง) ได้บูรณะวัดกษัตราขึ้นใหม่และเปลี่ยนชื่อเป็น วัดกษัตราธิราช ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ (เกศ) ต้นราชสกุลอิศรางกูร ได้ปฏิสังขรณ์พระอารามเมื่อ พ.ศ. 2349 และมีพระสงฆ์จำพรรษาที่วัดแห่งนี้ได้ ในรัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดกษัตราธิราชวรวิหาร และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกวัดกษัตราธิราชเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 เป็นพระอารามหลวงลำดับที่ 9 ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้วยเหตุว่าเป็นวัดที่มีความงดงามและสมบูรณ์แบบที่สุดซึ่งตกทอดมาจากสมัยอยุธยา จึงเป็นปูชนียสถานที่น่าไปเที่ยวชม เช่น พระอุโบสถอันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธกษัตราธิราชซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม ตั้งอยู่บนฐานชุกชี ในลักษณะประทับนั่งขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัยซึ่งต่อมามีการลงรักปิดทองประดับอย่างงดงาม ส่วนตัวพระอุโบสถเต็มไปด้วยงานฝีมือช่างสลักเสลาวิจิตรนัก อาทิ เสามีคันทวยไม้จำหลักรูปพญานาค รองรับชายคาปีกนกทั้งสองด้าน หัวเสาเป็นลายบัวแวง ด้านหน้าประดับซุ้มบุษบกบัญชร ส่วนด้านหลังมีมุขเด็จประดิษฐานพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ หลังคาประดับช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ มุงด้วยกระเบื้องกาบูหรือกระเบื้องกาบกล้วยดินเผา หน้าบันทั้ง 2 ด้าน จำหลักลายดอกพุดตาน มีสาหร่ายรวงผึ้งคั่นสลับระหว่างเสาสืบทอดรูปแบบมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วนพื้นภายในพระอุโบสถปูด้วยหินอ่อนจากประเทศอิตาลีที่รัชกาลที่ 5 พระราชทานแด่พระครูวินยานุวัติคุณ (ทรง ธัมมสิริโชติ) อดีตเจ้าอาวาสเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา หลังจากการก่อสร้างพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรฯ และยังมีพระวิหารอีก 2 ด้าน เป็นที่ตั้งรูปหล่อสมเด็จพระพนรัตน์ซึ่งมีอยู่ที่วัดนี้แห่งเดียวเป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ชาวบ้านเรียกกันว่าหลวงพ่อแก่ และยังมีรูปหล่อของหลวงปู่เทียมอดีตเจ้าอาวาสพระเกจิอาจารย์ชื่อดังด้านตะกรุดอยู่ยงคงกระพันและเมตตา จัดว่าเป็นอารามหลวงที่งดงามซึ่งจะมาศึกษางานศิลป์ชั้นสูงหรือสักการะบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ชื่อดังประจำจังหวัด เปิดให้เข้านมัสการในเวลา 08.00-16.30 น.

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น ยังมีอีกหลายสถานที่ที่ต้องมาล่องเรือ ลองสัมผัส กับบรรยากาศจริงสักครั้ง เชื่อได้เลยว่าคุณจะได้รับความสนุก ความสุข และความประทับใจเต็มอิ่มแน่นอน

โดยนอกจากล่องเรืออยุธยา จะมีกิจกรรมไหว้พระแล้ว ยังมีอีกกิจกรรมที่ไม่ควรพลาดเช่นกัน คือ ล่องเรืออยุธยา เพื่อไปดูช้างอาบน้ำ ซึ่งบอกได้เลยว่า ประทับใจกับความน่ารักของน้องช้าง อย่างแน่นอน ท่านจะได้สัมผัสกับ น้องช้างอย่างใกล้ชิดแบบ ตัวติดกันเลยทีเดียว

ล่องเรืออยุธยา
ล่องเรืออยุธยา
ล่องเรือทานอาหารอยุธยา

ติดต่อสอบถามข้อมูล

สนใจ ล่องเรือ หรือ ล่องเรือทานอาหาร ลูกค้าสามารถติดต่อทั้งทาง ไลน์ ทางโทรศัพท์ ทาง Email เรายินดีทุกช่องทางเลยครับ